รายละเอียดบทความ
สินค้า นมผง : สาระน่ารู้ | ||||||||||||||||||||||||||||||
![]() |
||||||||||||||||||||||||||||||
สินค้า นมผง : สาระน่ารู้ นมผงเป็นสินค้าที่ใช้ทดแทนน้ำนมแม่ ซึ่งถือเป็นอาหารที่เหมาะสมและ ดีที่สุดสำหรับทารก และเด็ก โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบันที่สตรีต้องออกทำงานนอกบ้าน การใช้นมผง จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับทารกและเด็ก เพื่อให้ได้รับ สารอาหารครบถ้วนและพอเหมาะ มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการที่ดี
นอกจากนั้น นมผงบางชนิดยังเหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่หรือ
ผู้บริโภคทั่วไปที่ต้องการเสริมบำรุงสุขภาพ ร่างกายให้แข็งแรงด้วย
2.3
ผู้นำเข้าสำเร็จรูป
มี 6 ราย
3. กรรมวิธีการผลิต มี 2 วิธี 3.1 วิธีนมคืนรูป (Recombined) มีกระบวนการผลิต คือ (1) นำนมผงขาดมันเนย ไขมันเนย และอื่นๆ มาผสมในถังปรับ มาตรฐานความดันสูง ทำให้ส่วนผสมเป็นเนื้อเดียวกัน (Homoginized) (2) นำส่วนผสมดังกล่าวมาผ่านเครื่องกรอง แล้วฆ่าเชื้อด้วยความร้อนด้วยกรรมวิธี พาสเจอร์ไรซ์ (3) ทำให้ข้นขึ้นด้วยการระเหยน้ำบางส่วนออก ( Evaporated) (4) นำส่วนผสมที่ได้ทั้งหมดเข้าเครื่องพ่นแห้ง (Spray Dry)จะได้นมผงที่มีลักษณะ สีขาวหรือสีครีมตามที่ต้องการ (5) ผ่านเข้าเครื่องร่อนนมผง (6) ผสมน้ำตาลทราย และวิตามินต่างๆ ตามต้องการ (7) นำนมผงที่ผลิตได้ เข้าเครื่องแบ่งบรรจุโดยจะบรรจุลงในกระป๋องหรือถุงฟอยส์ ซึ่งผ่านการฆ่าเชื้อโดยการอบแห้ง แล้วบรรจุก๊าซไนโตรเจน เพื่อรักษาคุณภาพของนมผง (8) ขั้นตอนการตรวจสอบคุณภาพ โดยการเก็บตัวอย่างนมผงที่ผลิตได้ในแต่ละ lot ทำการตรวจสอบลักษณะสินค้า การปนเปื้อน น้ำหนักการบรรจุและทดสอบรสชาดของนมผง เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่สะอาดปลอดภัยต่อผู้บริโภค ตลอดจนเก็บ ตัวอย่างสินค้าจากตลาดทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของนมผง หากพบว่าสินค้าเสื่อมสภาพก็จะเก็บสินค้าคืนออกจากตลาดทันที 3.2 วิธีผสมแห้ง ( Dry mixed) (1) นำนมผงชนิดมีมันเนย หรือนมผงขาดมันเนยสำเร็จรูปตราต่างๆที่นำเข้าเป็นถุงใหญ่ จากต่างประเทศมาผสมน้ำตาลทราย ,วิตามิน หรือส่วนผสมอื่น ๆ โดยวิธีผสมแห้ง (2) แบ่งบรรจุตามขนาดต่างๆ ทั้งขนาดบรรจุซอง,กล่องและกระป๋อง (3) ขั้นตอนตรวจสอบคุณภาพสินค้า (เช่นเดียวกับผู้ผลิต) 4. การตลาดนมผง โครงสร้างการตลาดนมผงเป็นตลาดแข่งขันสมบูรณ์ มีผู้ผลิต,ผู้นำเข้า มากราย มีภาวะการ แข่งขันสูง ตรานมผงที่จำหน่ายในท้องตลาดมีประมาณ 30 ตรา ทั้งในลักษณะการบรรจุในกระป๋อง กล่อง หรือถุงฟอยส์ ตามขนาดต่างๆ หลายขนาดให้ผู้บริโภคได้เลือกซื้อ นมผงเป็นสินค้า ที่ผู้บริโภคมีความเชื่อถือในตราสินค้าสูง (Brand loyalty) ตราใหม่อาจจะเข้าสู่ตลาด ค่อนข้างยากในการผลิตต้องลงทุนสูง และต้องการความรู้ทางเทคนิคสูง โดยนมผงแต่ละประเภท จะมีวิธีการส่งเสริมการขายหรือการทำตลาดที่แตกต่างกัน ดังน้
(1)
นมผงดัดแปลงสำหรับทารก และนมผงดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารก และเด็กเล็ก เป็นนมผงที่กระทรวงสาธารณสุขมีกฎข้อบังคับห้ามมิให้ประกอบการค้า ทำการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อต่างๆโดยเด็ดขาด โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีวัตถุประสงค์ ส่งเสริมให้มารดาเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เนื่องจาก น้ำนมแม่มีคุณค่าทางโภชนาสูง และยังช่วยเพิ่มพูนความต้านทานโรคแก่ทารก ทำให้ทารกมีสุขภาพแข็งแรง ตลอดจน เป็นการสื่อสาร
ความรักความห่วงใยระหว่างแม่และลูก เป็นผลดีทางด้านจิตใจ
โดยองค์การอนามัยโลก( Unesco) พยายามผลักดันส่งเสริมให้เลี้ยงลูกด้วยนมแม่มาตลอด แต่อย่างไรก็ตามยังมีความจำเป็นที่ต้องชงนม ให้เด็กทารกได้ดื่มในขณะมารดาพักฟื้นในโรงพยาบาล และโดยเฉพาะในระยะหลัง ที่โรคเอดส์เข้ามา คุกคาม ยิ่งมีความจำเป็นสำหรับทารกที่เกิดจากมารดาที่ป่วยด้วยโรคเอดส์ เพื่อช่วยให้เด็กทารก ที่เกิดมาอาจจะรอดพ้นจากการติดเชื้อจากมารดาได้ วิธีส่งเสริมการขายนมผงดัดแปลงสำหรับทารก และนมผงดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก จึงมุ่งเน้นที่บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล
และผดุงครรภ์ ในการช่วให้ความรู้ในการเลี้ยงทารกและการให้อาหารอื่นตามความจำเป็น เด็กทารกที่คลอดในโรงพยาบาลต่างๆจะได้รับนมผสม
หลังจากออกจากโรงพยาบาลไปแล้วมารดาก็มักจะใช้นมผงตราเดียวกันกับที่โรงพยาบาลชงให้ต่อเนื่องกันไปโดยมีความเชื่อถือ และไว้วางใจตราสินค้านั้น และเกรงว่าหากเปลี่ยนนมอาจทำให้ทารกท้องเสีย หรือมีอาการผิดปกติ บางอย่างได้
นอกจากนั้น ผู้ประกอบการยังมีวิธีการส่งเสริมโดยทางอ้อมซึ่งมิใช่เป็นการโฆษณา
เช่น การจัดทำคู่มือแม่และเด็ก
คู่มือการเลี้ยงทารก การเสนอบทความที่เขียนโดยกุมารแพทย์ หรือหนังสือนิทาน แจกแก่หญิงที่มาคลอดบุตร การจัดประชุมสัมมนาทาง
วิชาการเกี่ยวกับ การดูแลสุขภาพแม่และเด็ก
หรือจัดพิมพ์นิตยสารคู่มือแจกแก่หญิงที่มาฝากครรภ์ หรือมาตรวจครรภ์ที่โรงพยาบาล โดยจะสอดแทรกได้เฉพาะ ชื่อ ที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิต ผู้จำหน่ายไว้ในรูปเล่มหรือใบปลิว เพื่อเป็นการแนะนำสินค้าอีกทางหนึ่งด้วย(2) นมผงธรรมดา เป็นนมผงที่เหมาะสำหรับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไปหรือผู้บริโภค ทั่วไป ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุข อนุญาตให้มีการโฆษณาโดยผ่านทางสื่อต่างๆได้ ดังนั้นกลยุทธ์ ทางการตลาดที่ใช้จึงเน้นการโฆษณา เช่น โฆษณาทาง โทรทัศน์ วิทยุ และนิตยสารต่างๆ การให้ส่วน ลดราคาพิเศษแก่ ห้างสรรพสินค้าหรือ ร้านค้าส่งที่สั่งซื้อในปริมาณมาก โดยห้างฯ จะเฉลี่ย ส่วนลด นั้นให้แก่ลูกค้า ทำให้ราคานมถูกลงเป็นการจูงใจลูกค้า นอกจากนั้นยังมีการให้ของแจก ของแถม ชิงรางวัลต่างๆ หรือจัดซุ้มชงชิมฟรี เป็นต้น 5. การหมุนเวียนสินค้า การนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปหรือวัตถุดิบจะนำเข้ามาทางเรือจากทวีปออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หรือยุโรปเป็นส่วนใหญ่ การเก็บสต๊อควัตถุดิบและสินค้าในคลังสินค้าของบริษัท ฯ ตกประมาณ 1.5 - 2 เดือน สำหรับรอบการหมุนของสินค้าใน ท้องตลาดขึ้นกับสัดส่วนการจำหน่ายแต่ละราย ( ขายดี สินค้าจะหมุนเวียนเร็ว ) 6. มูลค่าการตลาดนมผง ในช่วงปี 2537 - 2539 ตลาดนมผงมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมี อัตราการขยาย ตัวเฉลี่ยถึงร้อยละ 10-15 มีมูลค่าการตลาดประมาณ 10,000 ล้านบาท เนื่องจากเป็นช่วงเวลา ที่ประเทศไทยมีเศรษฐกิจดี ประกอบกับประชาชนมีการศึกษาดีขึ้น รัฐบาลส่งเสริมและรณรงค์ ให้ประชาชนหันมาดื่มนมกันมากขึ้น โดยใช้คำขวัญว่า "วันนี้คุณดื่มนมหรือยัง" จึงเป็นจุดดึงดูด ให้มีการแข่งขันในตลาดมากขึ้น ต่อมาใน ปี 2540 - ปัจจุบัน ( ปี 2545 ) มีการประกาศ ใช้นโยบายเงินบาทลอยตัว ค่าเงินบาทอ่อนตัวลงมาก ( 26 บาท/USD เป็น 42 บาท/USD ) ซึ่งส่งผลให้ราคานมผงที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศมีราคาสูงขึ้น ประกอบกับเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้มูลค่าการตลาด นมผงขยายตัวลดลงทุกปี ผู้ผลิตรายใหญ่ ที่มีศักยภาพทางการตลาดสูง ได้พยามยามรักษาส่วนแบ่งการตลาด ของตนเองไว้ โดยออกขนาดบรรจุใหม่ และเปลี่ยน แปลงภาชนะบรรจุจากขนาดบรรจุกระป๋อง เป็นบรรจุกล่องหรือซองฟอยส์ ขนาด 100 - 800 กรัม เป็นชนิดเติม เพื่อประหยัด และผู้บริโภคสามารถเลือกซื้อตามกำลังทรัพย์ที่มี 7. แนวทางในการกำกับดูแลของทางราชการ สินค้านมผงเป็นสินค้าควบคุมตาม พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 โดยกรมการค้าภายในมีมาตรการดังนี้ 7.1 ใช้มาตรการบริหาร โดยขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ คือ ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้แทนจำหน่าย ให้แจ้งการตั้ง/ปรับราคาสินค้าต่อกรมการค้าภายในทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันทำการ ก่อนนำสินค้าออกจำหน่าย ซึ่งจะพิจารณาให้ปรับราคาสูงขึ้นได้ตามภาระต้นทุน ที่สูงขึ้นจริงเท่านั้น 7.2 ใช้มาตรการกฎหมาย กำหนดมาตรการบังคับทางกฎหมายให้ผู้จำหน่ายปลีกต้อง ปิดป้ายแสดงราคาจำหน่าย ในลักษณะที่เห็นได้ชัดเจนและเปิดเผย 8. ข้อเสนอแนะในการเลือกซื้อนมผง นมผงทุกตราที่วางจำหน่ายในท้องตลาด ต้องได้รับอนุญาตสูตรอาหารจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ดังนั้นทุกตราจึงมีมาตรฐานเหมาะสำหรับใช้เลี้ยงทารก และเด็กได้ สำหรับนมผงที่วางจำหน่ายโดยทั่วไปมี 2 ระดับราคา คือ - ระดับราคาสูง (เพิ่มวิตามินและสารอาหารบางชนิด) - ระดับราคาปานกลาง (มีวิตามินและสารอาหารในเกณฑ์ที่ สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยากำหนด) ในการเลือกซื้อนมผงตราใดขึ้นอยู่กับสภาพฐานะทางเศรษฐกิจของแต่ละครอบครัวเป็นหลัก วิธีเลือกซื้อนมผงโดยดูจากสภาพทั่วไปๆ คือ ดูวันหมดอายุ และ วันเดือนปีที่ผลิต ดูกระป๋อง ไม่ให้มี รอยบุบ ถ้าเป็นชนิดถุงหรือซองควรตรวจดูอย่าให้มีรอยแตกของซองหรือมีรูรั่ว เพื่อป้องกันการ ปนเปื้อน และเมื่อเปิดใช้แล้วควรบริโภคให้หมดภายใน 1 เดือน หากเนื้อนมผงเปลี่ยนสภาพ หรือสีเปลี่ยนแปลงไป ไม่ควรนำมาใช้อีก --------------------------------------------- สำนักจัดระบบราคาและปริมาณสินค้า ผู้เรียบเรียง:นวพร คงราศรี http://www.dit.go.th/contentdetail.asp?typeid=11&catid=102&ID=86 |
||||||||||||||||||||||||||||||
ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง : สินค้า นมผง : สาระน่ารู้ | ||||||||||||||||||||||||||||||
ผู้ลงบทความ : Webmaster |